วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

...ดนตรี คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ
...องค์ประกอบของดนตรี
จังหวะหรือลีลา (rhythm)
ระดับเสียง (pitch)
ความดัง (volume/ intensity)
ทำนองเพลง (melody)
การประสานเสียง (harmony)
... ดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา
...ความหมายของดนตรีบำบัด คือ การวางแผนในการใช้กิจกรรมทางดนตรีควบคุม ในกลุ่มของคนทุกวัยไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก จนถึงวัยสูงอายุ เพื่อให้เกิดผลบรรลุในการรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากความบกพร่องต่างๆ เช่น ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ ทางร่างกาย และสติปัญญา
ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวดนตรี คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผนและโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์, เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

...ดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลาย ๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ, อัตราการเต้นของชีพจร, ความดันโลหิต, การตอบสนองของม่านตา, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด จึงมีการนำดนตรีมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้ เจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกกันว่าดนตรีบำบัด (music therapy)
...ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีหลายประการ เช่น ช่วยปรับสภาพจิตใจ ให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ กระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะสังคม พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว ลดความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่าง ๆ และช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว










รูปภาพ โพสต์รูป ได้ทุกคน
sizeไม่เกิน 50 k เฉพาะไฟล์ gif,jpg
กรอกตัวเลขตามที่เห็นด้วยครับ


1 /1

เรียงความคิดเห็น ความคิดเห็นแรกสุด อยู่บน ความคิดเห็นล่าสุด อยู่บน
ความคิดเห็นที่ 4

ที่แน่ ๆ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เจริญใจ


โดย : คนจนรุ่นสุดท้าย ( member )
วันที่ : 2007-04-12 00:34:50

ความคิดเห็นที่ 3

น่าสนใจดีคะ

( Guest )
โดย : pran ( guest )
วันที่ : 2007-03-30 15:39:42

ความคิดเห็นที่ 2

เยี่ยม
( Guest )
โดย : จูงโกะ ( guest )
วันที่ : 2007-03-28 13:42:14

ความคิดเห็นที่ 1

น่าสนใจเป็นประโยชน์ดี

( Guest )
โดย : guest ( guest )
วันที่ : 2007-03-27 19:08:36


1 /1

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550



ผลงานจำนวนมากของนักมานุษยวิทยาก็ช่วยสนับสนุนข้อมูลข้างต้นด้วยว่า มนุษย์เชื่อในอิทธิพลของดนตรีมานานแล้ว เพราะ พิธีกรรมบำบัด (Healing Rituals) ของชนเผ่าต่าง ๆ ส่วนมากมีดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ข้อที่แตกต่างกันนั้นคือ ดนตรีบำบัดแผนใหม่ เป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่พิธีกรรมบำบัดเป็นไสยศาสตร์ แต่ข้อที่เหมือนกันคือ ดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม หรือในคลินิก ก็ตาม จะต้องผ่านการพิจารณาเลือกเฟ้นแล้วว่าเหมาะสมกับผู้ป่วย
การที่พ่อมด หรือหมอผี ผู้ประกอบพิธีกรรมบำบัด เป็นทั้งหมอ และสื่อกลางสำหรับติดต่อกับเทพสถานภาพในสังคม คนเหล่านี้จึงสุงกว่าชาวบ้านทั่วไป ผลที่ติดตามมาคือดนตรีหรือเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมพลอยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย
ดนตรีชาวฮินดู เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้ บันไดเสียงหรือ ราค (Raga) แต่ละชนิดจะมี กาละ และเทศะ กำกับไว้อย่างเคร่งครัด ละเมิดไม่ได้ เพราะดนตรีของเขาเป็นของที่ได้รับมาจากสวรรค์ กฎเกณฑ์เหล่านี้ตกทอดมาถึงดนตรีไทยด้วย ดังเช่นที่อยู่ในการใช้เพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย เป็นต้น
ธรรมชาติของการฟังดนตรี
ดนตรีเป็นศิลปะที่เสียเปรียบศิลปะแขนงอื่น ๆ ตรงที่ดนตรีเป็นเรื่องของการฟัง สื่อกันทางหู ความไพเราะของดนตรี ใช้โสตประสาทในการรับรู้ดนตรีแล้วส่งไปยังจิตสำนึก หรือ จิตใต้สำนึก การพูดหรือการเขียนถึงดนตรีนั้น อาศัยอวัยวะรู้อื่น ๆ เช่น ตา หรือการสัมผัสซึ่งเป็นเพียงส่วนประกอบย่อย ๆ เท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงดนตรีได้ ถ้าปราศจากหู แต่อวัยวะส่วนอื่นจะได้รับผลประโยชน์ เป็นผลพลอยได้จากดนตรีด้วย
ด้วยเหตุที่หูของคนเราเปิดอยู่ตลอดเวลา หูไม่สามารถเลือกฟังเองได้ จิตต่างหากที่จะทำหน้าที่กลั่นกรองเสียงที่ได้ยินว่า พอใจ หรือไม่พอใจต่อเสียงใด ความพอใจต่อเสียงของจิตที่ได้ยินจากหูเป็นความไพเราะทั้งที่เป็นดนตรีและไม่เป็นดนตรี แต่ความสดใสไพเราะที่เป็นดนตรีนั้นเป็นศิลปะที่อาศัยความสะอาดของจิตเป็นพื้นฐาน ขณะเดียวกัน เสียงที่ไม่ไพเราะจิตจะไม่พอใจ เสียงเหล่านั้นเป็นเสียงสร้างความรำคาญ และความไม่พอใจของจิต ความรำคาญสืบเนื่องมาจากเสียงขาดศิลปะในการปรุงแต่งให้สวดสดงดงาม ขาดคุณสมบัติในการสร้างความเพลิดเพลิน
อย่างไรก็ตาม พอมีหลักการในการฟังดนตรีอยู่บ้าง ที่สามารถเรียนรู้ด้วยอวัยวะส่วนอื่นที่นอกไปจากหู แต่หลักการเหล่านี้เป็นเพียงแนวทางในการฟังเท่านั้น ความไพเราะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฟังจริง ๆ ทางหูโดยตรง
เราจะเริ่มต้นฟังดนตรีกันอย่างไร ถ้าเราจะจัดลำดับก่อนหลังในการรับรสความไพเราะโดยอาศัยดุริยางควิทยาแล้ว ก็พอจะจัดลำดับของการฟังได้ดังนี้ คือ ฟังเสียง ฟังจังหวะ ฟังทำนอง ฟังเนื้อร้อง ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน ฟังสีสันแห่งเสียง ฟังรูปแบบของคีตลักษณ์ ฟังอย่างวิเคราะห์ และฟังเพื่อประโยชน์ของชีวิต

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

art81


ประวัติส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุมาลี นามสกุล เดชาฤทธิ์

นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)

ชั้นปีที่ 2 ร่น 16

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม

1. สุนทรียศาสตร์คืออะไร
คือปรัชญาแขนงหนึ่งที่ว่าด้วยความงาม ซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติและความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นๆด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรกับมนุษย์
มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ คือ
1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2. ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุ
3. เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
4. ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง และการบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวันด้วยเหตุผลและความรู้สึกที่สอดคล้องกัน
3. สุนทรียศาสตร์มีความสำคัญต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับวิชาชีพการพยาบาลเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ ในเรื่องของการส่งเสริมกระบวนการคิด รู้จักวิเคราะห์ด้วยปัญญาไม่ใช้อารมณ์ทำให้เป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล สิ่ต่างๆเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่วิชาชีพนี้พึงต้องมี เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่จะต้องให้บริการแก่ผู้รับบริการทุกระดับ แบบองค์รวมคือ กาย จิต สังคม ปัญญา